ประกันภัย บัตรเครดิต

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คน สู้ทะเล ...นายแน่มาก รอดไม่รอด ไปดูกัน.....

ม้าน้ำ ที่ตายแล้ว เสียดายมากๆ

หมาพันธ์โหด กินปลาดิบ แบบซาซิมิ สดๆ..

หมึกวาย หมึกสาย OCTOPUS กำลังจะตาย ไม่ตาย ไปดูกัน

แมวกินปลา แบบซาซิมิ สดๆ พุงแตก เลือดกระจาย สุดยอด

น็อคปลา เป็นไง ไปดูภาพครับ

แปลกเหลือเชื่อ ตัวอะไร ไปดูกัน น่ากลัว

หมาเจ้าแดงแปลกดี.. ไม่กินปลาดิบ ต้องย่าง

ปลากระแบน ตุ๊กก่า เคยกินกันไหมครับ

ไปเริยนรู้ชื่อปลา กับชาวเล บางเบิด..

ส่องดู..หมึกกระดอง แบบชัดๆ คุณมองเห็นไหมว่า ผิวหนัง มันขยับหรือเปล่า

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

sunitjo กับการท่องเที่ยว แดนทุ่งดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

อุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 199,375 ไร่ หรือ 319 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นผืนป่าบนเทือกเขาพระยาฝ่อและเทือกเขาพังเหย ในช่วงต้นฤดูฝนนอกจากผืนป่าจะเขียวชอุ่มชุ่มชื้นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่แล้ว ที่นี่ยังงดงามโดดเด่นด้วยดอกกระเจียวที่ผลิบานอยู่เต็มท้องทุ่ง 

ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากบริเวณที่ดินป่าเทือกเขาพังเหย และป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลท่าใหญ่ ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลบ้านเจียง ตำบลเจาทอง ตำบลวังทอง กิ่งอำเภอภักดีชุมพล อำเภอหนองบัวแดง ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลโป่งนก อำเภอ เทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ประกอบไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า และภูเขาที่สวยงามยิ่ง เช่น น้ำตกไทรทอง ทุ่งบัวสวรรค์ ฯลฯ สมควรกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือ ที่ นร 0602/723 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดังกล่าวข้างต้น และสำนักเลขานุการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ที่ นร 0203/9140 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 ว่า บัดนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิกถอนป่าสงวนในส่วนที่ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการใช้บังคับกฎหมายสองฉบับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือที่ กษ 0713.2/43143 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2535 เห็นชอบ ในข้อสังเกตุดังกล่าวในการเพิกถอนป่าสงวนที่ทับซ้อน สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือ ที่ นร 0203/855 ลงวันที่ 21 มกราคม 2536 แจ้งว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเทือกเขาพังเหย และป่านายางกลัก ในท้องที่ตำบลท่าใหญ่ ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลบ้านเจียง ตำบลเจาทอง ตำบลวังทอง กิ่งอำเภอภักดีชุมพล อำเภอหนองบัวแดง ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลโป่งนก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2535 โดยใช้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติไทรทอง “ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 77 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติไทรทองอยู่ในเขตเทือกเขาพระยาฝ่อ และเทือกเขาพังเหย มีลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงต่ำหลายลูกเรียงรายสลับซับซ้อน มีระดับความสูงตั้งแต่ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ถึงสูงสุดที่ยอดเขาพังเหย 1,008 เมตร เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของลำห้วยโป่งขุนเพชร ลำห้วยเชียงทา ลำห้วยแย้ ลำห้วยยาง ล้ำน้ำเจา ลำน้ำเจียง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำชี
ลักษณะภูมิอากาศ

พื้นที่ป่าแห่งนี้จัดอยู่ในภูมิอากาศประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ลักษณะของฝนที่ตกส่วนมากจะเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง อิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นจะได้รับไม่มากนัก ฝนตกมากในช่วงเดือนกันยายน ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติไทรทองสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบทางตอนเหนือของเทือกเขาพระยาฝ่อ และตอนกลางของเทือกเขาพังเหย พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะแบก กระบาก ตะเคียนหิน มะค่าโมง มะม่วงป่า ประดู นนทรีป่า สาธร และเขล็ง ฯลฯ ป่าเต็งรัง พบมากบริเวณพื้นที่สันเขาและพื้นที่ลอนลาดตอนล่างในเทือกเขาพังเหย พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อ พะยอม เต็ง รัง พลวง ตีนนก กว้าว แดง รัก กระบก ส้าน ไผ่ และหญ้าชนิดต่างๆ และ ป่าเบญจพรรณ พบไม่มากนัก พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก มะค่าโมง และไผ่ชนิดต่างๆ

สัตว์ป่า ที่พบเห็นได้ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ได้แก่ หมูป่า อ้น อีเห็น ชะมด เก้ง กระจง กระรอก กระแต กระต่ายป่า นกตะขาบทุ่ง นกกระปูด อีกา เหยี่ยว ไก่ป่า ตะกวด แย้ ตุ๊กแก กิ้งก่า งู กบ ปาด เขียด อึ่งอ่าง ฯลฯ และพบปลาบางชนิดตามแหล่งน้ำต่างๆ



 
Mor Hin Khao Chaiyaphum Stone Henge of Thailand ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นกลุ่มหินขนาดใหญ่จำนวน 3 กลุ่ม โดยจะมีหินทรายก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งเป็นสีขาวและโดดเด่นในพื้นที่ และเป็นที่มาของคำว่า มอหินขาว และในบริเวณยังมีเสาหินขนาดใหญ่จำนวน 5 เสา ตั้งเรียงรายกันเป็นแถว มีความสูงประมาณ 12 เมตร นอกจากนั้นยังมีแท่นหินที่มีรูปร่างคล้ายเรือ เจดีย์ หอเอียงเมืองปิซ่า และคล้ายกระดองเต่า ซึ่งจัดเป็นกลุ่มหินที่ 1 กลุ่มหินที่ 2 อยู่ห่างออกไป แท่นหินจะมีรูปร่างแปลกแตกต่างกันออกไป และเมื่อห่างออกไปอีกประมาณ 1,500 เมตร จะเป็นกลุ่มหินที่ 3 ที่เป็นแท่นหินและเสาหินขนาดเล็ก โดยลาดเอียงขึ้นไปจดหน้าผาที่มีชื่อว่า ผาหัวนาก และบริเวณมอหินขาวยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
ที่มาของชื่อ มอหินขาว: เดิมพื้นที่แถวนี้เป็นป่า ต่อมาได้มีคนมาบุกเบิกทำไร่ และก็เห็นมีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไปแต่ ก็ไม่ได้สนใจอะไร ที่ไร่มันสำปะหลัง (ในสมัยนั้น) ของลุงก็มีก้อนหินใหญ่ขึ้นทั่วไป แต่ที่ลุงเห็นว่าแปลกประหลาดมาก ก็คือก้อนหินใหญ่ 5 ก้อน ที่ในทุกคืนวันพระ (15 ค่ำ, 8 ค่ำ) จะมีแสงสีขาวส่องขึ้นมา คนเฒ่าคนแก่สมัยนั้น เลยเรียกที่นี่ว่ามอหินขาวสโตนเฮนจ์ เมืองไทย“เสาหินและแท่งหิน ที่มอหินขาวส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว นอกจากนี้ก็ยังมี หินทรายแป้ง หินโคลน หินทรายสีม่วง ซึ่งสันนิษฐานว่าก้อนหินขนาดยักษ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 175-195 ล้านปี และเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนทรายแป้งและดินเหนียว
กลุ่มหินของมอหินขาวกลุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ กลุ่มหินแรกที่มีเสาหินขนาดใหญ่ 5 ต้นเรียงรายกันอยู่ เสาหินเหล่านี้มีความสูงราว 12 เมตร ต้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้คนโอบไม่น้อยกว่า 20 คน เชื่อว่าที่นี่จะได้รับความนิยมในบ้านเราในเวลาไม่นานนัก
สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูแลนคา โทร. 044810902-3 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.025620760